ผู้สนับสนุนเนื้อหาเพิ่มเติม

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

บทที่ 1 พื้นฐานความรู้เรื่องโน๊ต

บทที่ 1 พื้นฐานความรู้เรื่องโน๊ต
เมื่อพูดถึงทฤษฎีดนตรี หรืออะไรก็ตามที่ขึ้นต้นว่า “ทฤษฎี” ผู้เรียนก็คงจะท้อกันตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว บางคนเล่นกีต้าร์ มาเป็นปีแต่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับทฤษฎี ถามว่าเล่นได้ไหม..... เล่นได้ครับ แต่แค่พอเล่นได้เท่านั้น เล่นไป ร้องไป
ตีคอร์ดได้ อาจจะเกาเป็นแพทเทิลได้บ้าง แต่จะให้เก่งอย่าง   คงเป็นไปไม่ได้แน่ ฉะนั้น ผมบอกได้เลยครับว่า หากเพื่อนๆสนใจอยากเล่นกีต้าร์อย่างจริงๆจังๆ  แล้ว ก็คงหนีไม่พ้นทฤษฎีดนตรีแน่นอน แต่สิ่งที่ผมอยากจะบอก
เพื่อนๆก็คือ ทฤษฎีดนตรี ไม่ใช่ของยากอะไรเลย หากเราค่อยๆทำความเข้าใจมันตั้งแต่ชั่วโมงแรก ศึกษาไปทีละนิด
ละหน่อย ความรู้จะถูกเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆแบบไม่รู้ตัว และความได้เปรียบของคนที่มีความรู้ด้านทฤษฎีดนตรี คือ ไม่ว่าจะอยากเล่นเครื่องดนตรีชิ้นไหน ก็เริ่มเล่นได้ไม่ยาก แค่เรียนรู้ธรรมชาติของเครื่องดนตรีชนิดนั้นๆในเบื้อง
ต้น ประกอบกับการฝึกฝนและนำเอาความรู้ทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ ก็ทำให้เราเพลิดเพลินกับเครื่องดนตรีแต่ละ
ชนิดได้ในเวลาอันสั้น ครับเกริ่นมาถึงตรงนี้แล้ว หวังว่าเพื่อนๆคงจะมีกำลังใจที่จะศึกษาทฤษฎีดนตรีกันบ้างแล้ว
นะครับ ไม่พูดพล่ามทำเพลง มาเริ่มกันเลยดีกว่า


ตัวโน๊ตทั้งหมด ตามที่เราคุ้นเคยคือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด ซึ่งโน้ตแต่ละตัวจะถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งโดยนำเอา
ตัวอักษรภาษาอังกฤษมาตั้ง ดังนี้
C = โด                 
D = เร
E = มี
F = ฟา
G = ซอล
A = ลา
B = ที
อันนี้เป็นความรู้พื้นฐานที่เพื่อนๆต้องจำนะครับ ซึ่งวิธีจำก็ไม่ยากอะไรเลย แค่เอาตัว C ขึ้นต้น และไล่เสียงไปเรื่อยๆ
ตามตัวอักษร C D E F G และวนกลับมาที่ A B ก็เป็นอันครบ
อันที่จริงแล้ว ยังมีเสียงที่นอกเหนือจากนี้อีก ซึ่งจะอธิบายได้ง่ายจากคีย์บอร์ด ดังนี้ครับ

เพื่อนๆจะสังเกตุเห็นว่ามีโน๊ตอยู่ 2 คู่ ที่ไม่มีตัวขั้นกลาง นั่นก็คือ E กับ F และ B กับ C  ทำไมถึงเป็นเช่นนี้นะเหรอ
ครับ กระผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน เพราะเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นมาจากผู้ที่คิดค้นทฤษฎีดนตรีในยุคแรกน่ะครับ คล้ายๆกับสูตรทางคณิตศาสตร์แหล่ะครับ เราเองเป็นผู้ศึกษาต่อจากสิ่งที่ผู้อื่นเค้าศึกษากันมาอย่างหนักหน่วง เรา แค่เอาสูตรที่เค้าคิดเอาไว้อย่างดีแล้วมาใช้แค่นั้นเอง
                มาถึงตรงนี้สิ่งที่เพื่อนๆต้องจำเพิ่มขึ้นมานั่นก็คือ E กับ F ติดกัน และ B กับ C ติดกัน อ้อ ผมลืมบอกไป
ครับ จาก C ไป D นั้น ห่างกัน 1 เสียงเต็ม (ทำไมถึงห่าง 1 เสียงเต็ม ?............. ก็เพราะมันมีตัวคั่นคือ C# หรือ Db
นั่นแหล่ะครับ ส่วน E กับ F ห่างกัน ครึ่งเสียง เพราะไม่มีตัวคั่น            และ B กับ C ก็ห่างกันครึ่งเสียงทีนี้เพื่อนๆ
คงทราบแล้วนะครับว่า โน๊ตคู่ไหนห่างกัน 1 เสียงเต็มบ้าง โน๊ตคู่ไหนห่างกันครึ่งเสียงบ้าง
               

C สูงขึ้นไปครึ่งเสียง = C#                                     C ลดลงครึ่งเสียง = B
D สูงขึ้นไปครึ่งเสียง = D#                                    D ลดลงครึ่งเสียง = Db
E สูงขึ้นไปครึ่งเสียง = F                                       E ลดลงครึ่งเสียง = Eb
F สูงขึ้นไปครึ่งเสียง = F#                                     F ลดลงครึ่งเสียง = E
G สูงขึ้นไปครึ่งเสียง = G#                                   G ลดลงครึ่งเสียง = Gb
A สูงขึ้นไปครึ่งเสียง = A#                                    A ลดลงครึ่งเสียง = Ab
B สูงขึ้นไปครึ่งเสียง = C                                      B ลดลงครึ่งเสียง = Bb
จะสังเกตได้ว่า มีเสียงที่เท่ากันอยู่ดังนี้
C# = Db
D# = Eb
F# = Gb
G# = Ab
A# = Bb
เอ....... ในเมื่อมันเป็นเสียงเดียวกัน ทำไมไม่เรียกอันใดอันนึงไปเลย ทำให้สับสนทำไมก็ไม่รู้........นั่นนะสิครับ
แต่จริงๆแล้ว มันขึ้นอยู่กับแต่ละบทเพลงมากกว่า คือถ้าเพลงนั้นๆมีโน้ตที่ติดชาร์ฟ (#) ก็จะติดชาร์ฟทั้งเพลง หรือ
เพลงไหน ทีมีโน้ตติดแฟลต (b) ก็จะแฟลตมันทั้งเพลง คงไม่มีใส่โน้ตที่ติดชาร์ฟ และแฟลต ไว้ในเพลงเดียวกัน
หรอกครับ
เป็นไงครับ พอเข้าใจกันบ้างรึเปล่า เอาเป็นว่าขอจบบทแรกไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ถ้ามีเวลาว่างจะเข้ามาเพิ่มบท
เรียนให้เรื่อยๆนะครับ ขอให้สนุกกับการเรียนทฤษฎีนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น