ผู้สนับสนุนเนื้อหาเพิ่มเติม

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

องค์ประกอบของคอร์ด

บทที่ 3 องค์ประกอบของคอร์ด (1)
บทนี้มาพูดกันถึงเรื่องคอร์ดดีกว่าครับ เพื่อนๆคงจะเคยจับคอร์ด ตีคอร์ดกันมาบ้างแล้ว อยากทราบมั้ยครับว่า "คอร์ด" มีที่มาที่ไปอย่างไร ผมจะอธิบายให้ฟังดังนี้ครับ
คอร์ดคือการรวมกลุ่มของตัวโน๊ตตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป โดยหลักๆแล้วจะแบ่งออกเป็น คอร์ดเมเจอร์(major)และคอร์ดไมเนอร์(minor)
เพื่อนๆลองหยิบหนังสือเพลงขึ้นมาดูประกอบสิครับ
ตัวอย่างเช่น คอร์ด C (เรียกเต็มว่า C เมเจอร์, เขียนเต็มๆว่า Cmaj (โดยปกติจะละ maj เอาไว้)
คอร์ด Am (อ่านว่า A ไมเนอร์ โดย m ย่อมาจาก minor)
คอร์ดเมเจอร์ ประกอบด้วย โน๊ตตัวที่ 1,3,5
1,3,5 มาจากไหน?
ให้เอาโน๊ตตัว C ตั้งต้น แล้วไล่เสียงไปจนครบ 7 ตัวโน๊ต ดังนี้
C(1)---- D(2)---- E(3)--F(4)---- G(5)---- A(6)---- B(7)--C(8)
ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึงตำแหน่ง จะสังเกตุเห็นว่าโน๊ตตำแหน่งที่ 3 กับ 4 และ 7 กับ 8 ห่างกันอยู่ครึ่งเสียง ที่เหลือห่างกัน 1 เสียงเต็ม
(อ้อ...จริงๆแล้ว โน๊ตตำแหน่งที่ 8 ก็คือตัวเดียวกับตัวที่ 1 นั่นแหล่ะครับ แต่เขียนไว้เพื่อให้เห็นชัดว่า 7 กับ 8 มันห่างกันครึ่งเสียงน่ะครับ)
ย้อนกลับไปที่ คอร์ดเมเจอร์ ประกอบด้วยโน๊ตตัวที่ 1,3,5 การที่จะทราบว่าตัวโน๊ต ตำแหน่งที่ 1,3,5 นั้นคือโน๊ตอะไร ก็ให้เอาตัว Root ตั้งต้น (ตัว Root หมายถึง ตัวโน๊ตที่เป็นชื่อคอร์ด เช่น Root ของคอร์ด C ก็คือ C , Root ของคอร์ด Am ก็คือ A)
Root ของคอร์ด Dm7 ก็คือ D โดยเราไม่ต้องไปสนใจว่ามันจะติด m,7 หรือติดอะไรก็ตาม ให้ดูแค่ว่าชื่อคอร์ดเป็นตัวอักษรอะไรก็พอ
เอาล่ะครับ....ยกตัวอย่างเลยดีกว่า เดี๋ยวจะงงกันไปซะก่อน

Ex.1 คอร์ด C
หาคอร์ด C ให้เอา C ตั้งต้นก็จะได้
C(1)---- D(2)---- E(3)--F(4)---- G(5)---- A(6)---- B(7)--C(8)
1 = C
3 = E
5 = G
เพราะฉะนั้น คอร์ด C จึงประกอบด้วยโน๊ต 3 ตัว คือ C,E,G
Ex.2 คอร์ด G
หาคอร์ด G ก็ให้เอา G   ตั้งต้นจะได้ว่า
G(1)---- A(2)----B(3)--C(4)---- D(5)---- E(6)----F#(7)--G(8)
อย่าลืมนะครับ ว่าตำแหน่งที่ 3 กับ 4 ติดกัน (ส่วนตำแหน่งที่ 7 กับ 8 มันจะติดกันโดยอัตโนมัติอยู่แล้วครับถ้าเรียงมาถูกนะครับ)
1 = G
3 = B
5 = D
เพราะฉะนั้น คอร์ด G จึงประกอบด้วย G,B,D
ลองอีกสักตัวอย่างนะครับ
Ex.3 คอร์ด E
คอร์ด E ก้เอา E ตั้งต้นเช่นกัน
E(1)---- F#(2)----G#(3)--A(4)---- B(5)---- C#(6)----D#(7)--E(8)
1 = E
3 = G#
5 = B
เพราะฉะนั้น คอร์ด E จึงประกอบด้วย E,G#,B
*สรุปครับสรุป...หากเพื่อนๆอยากทราบองค์ประกอบของคอร์ดๆใดก็ตามให้เอา Root ของคอร์ดนั้นมาตั้งต้น แล้วเรียงลำดับตัวโน๊ตไปจนครบ 7 ตัว (...ถัดจากตัว G ก็คือ A นะครับ อย่าไปใส่ตัว H ล่ะ) โดยให้ยึดกฎที่ว่า 3 กับ 4 ติดกันก็เป็นอันใช้ได้ครับ ........ เฮ้อ จบลงซะทีบทนี้ บายครับ

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

เพลง it gonna be ok




ใครอยากให้ cover เพลงนี้บ้าง

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

สอนเล่นหน่วง




เครดิต http://www.youtube.com/watch?v=MeDE1Qm2gY0

การเล่นกีต้าร์

วิธีการหัดเล่นกีต้าร์
ในการหัดเล่นกีต้าร์นั้นเราจะต้องรู้พื้นฐานในการจับคอร์ดเสียก่อน

ซึ่งจะจับคอร์ดได้นั้นตัองดูตามตารางคอร์ดกีต้าร์ดังนี้


บางคนอาจจะยังดูไม่เป็นสำหรับคนที่หัดเล่นใหม่ๆ แต่มัน

ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่หยิบกีต้าร์ขึ้นมาแล้วใช้นิ้วกด

ไปตามจุดที่อยู่บนเส้นกีต้าร์ตามรูปภาพ พอกดได้แล้วก็หมั่น

ฝึกกดอยู่บ่อยๆเพื่อที่จะเกิดการเคยชินจนสาสารถเล่นได้ในที่สุด


การหัดไล่ scale กีต้าร์

ในการเล่นกีต้าร์นั้นนอกจากจะหัดจับคอร์ดแล้วนั้นที่สำคัญก็คือ

การหัดไล่สเกลล์ซึ่งการไล่สเกลล์นั้นเป็นพื้นฐานในการลีดกีต้าร์

ที่นักลีดกีต้าร์ทั้งหลายทำกันอยู่ก็มาจากการฝึกหัดไล่สเกลล์กัน

ทั้งนั้น การไล่สเกลล์นั้นเป็นการไล่นิ้วลงไปบนตัวโน๊ตของกีต้าร์

ซึ่งจะไล่แบบไหนนั้นก็แล้วแต่ผู้เล่นจะถนัดนั่นเองดังตัวอย่างตารางสเกลล์

คอร์ดกีต้าร์




มารู้จักกีต้าร์

1.1 กีตาร์คลาสสิก (Classic Guitar) ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ในยุคปัจจุบันนั่นเองซึ่งมีลักษณะเด่นก็คือมีลูกบิดและแกนพันสายเป็นพลาสติก มีคอหรือฟิงเกอร์บอร์ดที่ใหญ่คือประมาณ 2 นิ้วลักษณะแบนราบ และใช้สายเอ็นหรือไนล่อน ส่วน 3 สายบน(สายเบส) จะทำด้วยไนล่อนหรือใยไหมแล้วพันด้วยเส้นโลหะเช่นเส้นทองแดงหรือบรอนซ์ ซึ่งทำให้มีความนุ่มมือเวลาเล่นไม่เจ็บเหมือน สายโลหะ จึงเหมาะกับคนที่อยากหัดกีตาร์แต่กลัวเจ็บนิ้ว
          กีตาร์อีกอย่างที่อยากกล่าวถึงในหัวข้อกีตาร์คลาสสิกคือ กีตาร์ ฟลาเมนโก (flamenco) ซึ่งมีโครงสร้างแทบจะเหมือนกับกีตาร์คลาสสิกทุกประการเนื่องจากได้มีการพัฒนามาจากกีตาร์คลาสสิกนั่นเอง จะต่างกันก็ที่ลำตัวจะบางกว่า และมีปิคการ์ดทั้งด้านบนล่างของโพรงเสียง และสไตล์การเล่นนั่นเองที่จะเป็นแบบสแปนนิสหรือแบบลาตินซึ่งจะมีจังหวะที่ค่อนข้างกระชับและสนุกสนาน
bigpic.jpg (8313 bytes)ด้วยเหตุที่ใช้สายไนล่อนนั่นเองทำให้กีตาร์คลาสิกมีเสียงที่ไพเราะนุ่มนวลและคอที่กว้างทำให้ระยะระหว่างสายก็มากขึ้นไปด้วย ซึ่งทำให้การเล่นกีตาร์คลาสสิคนั้นจะสามารถเล่นได้ทั้งการ solo เล่น chord แล่ bass ได้นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิคลูกเล่นต่าง ๆ อีกมากมาย ทำให้การเล่นกีตาร์คลาสสิกนั้นมีความไพเราะมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ง่ายนักนะครับกว่าจะเล่นได้อย่างที่ว่า นอกจากจะได้ไปเรียนอย่างเป็นจริงเป็นจังกับโรงเรียนดนตรีflamencoBfront.jpg (47292 bytes)flamencoBback.jpg (43036 bytes)flamencoBside.jpg (38276 bytes)












ส่วนต่าง ๆ ของกีตาร์คลาสสิก

          1.2 กีตาร์โฟล์ค ถือว่าเป็นที่นิยมและรู้จักกันมากที่สุดเนื่องจากหาซื้อง่ายราคาไม่แพงจนเกินไป(ที่แพง ๆ ก็มีนะครับ) สามารถฝึกหัดได้ง่ายไม่ต้องรู้ถึงทฤษฎีดนตรีมากนัก ใช้เวลาไม่นานก็จะสามารถเล่นเพลงง่าย ๆ ฟังกันในหมู่เพื่อนฝูงได้แล้วแต่จริง ๆ กีตาร์โฟล์คมันมีอะไรมากกว่านั้น ลักษณะทั่ว ๆ ไปคือแกนหมุนและลูกบิดมักเป็นโลหะ คอหรือฟิงเกอร์บอร์ดเล็กกว่ากีตาร์คลาสสิกมีลักษณะโค้งเล็กน้อยรับกับนิ้วมือ แต่มีลำตัว (body) ที่ใหญ่และแข็งแรงกว่ากว่ากีตาร์คลาสสิก ใช้สายที่ทำจากโลหะ เนื่องจากคอกีตาร์ที่เล็กและสายที่เป็นโลหะกีตาร์ประเภทนี้จึงเหมาะกับการเล่นด้วยปิค (flat pick) หรือการเกา (finger picking) ซึ่งเสียงที่ได้จะดังชัดเจน สดใสกว่ากีตาร์คลาสสิก จึงเหมาะกับการเล่นกับดนตรีทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจเล่นเดี่ยวหรือเล่นเป็นวงก็ได้
          กีตาร์โฟล์คนั้นมีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กันไปบ้างตามแต่ละความต้องการใช้ประโยชน์ หรือตามแต่ละผู้ผลิตส่วนมากก็จะแบ่งได้เป็น standard folk กีตาร์, jumbo folk กีตาร์ flat top folk กีตาร์ นอกจากนี้ยังมีแบบพิเศษอีกประเภทคือ กีตาร์ 12 สาย(แถวบนขวาสุด) ซึ่งจะมีสายแบ่งเป็น 6 คู่ซึ่งเวลาเล่นก็เล่นเหมือนกีตาร์ทั่ว ๆ ไป เพียงแต่จะได้เสียงที่กังวานและแน่นขึ้น (และยังมีกีตาร์เบสโปร่งซึ่งมี 4 สายที่อยู่รูปล่างซ้ายสุด 2 ตัว ใช้เล่นเบสแต่ผมไม่ค่อยเห็นคนเล่นเท่าไรครับสำหรับเบสโปร่งประเภทนี้) อ้อมีอีกแบบหนึ่งมีรูปร่างคล้ายกีตาร์คลาสสิก แต่ใช้สายโลหะซึ่งเป็นกีตาร์ฝึกราคาค่อนข้างถูกเหมาะสำหรับผู้ที่อยากเล่นกีตาร์แต่ไม่แน่ใจว่าจะเอาจริงหรือเปล่าก็ลองซื้อมาหัดเล่นดูว่าไหวมั้ย
 folk.jpg (208664 bytes)



แสดงกีตาร์โฟล์คแบบต่าง ๆ และส่วนต่าง ๆ โดยคร่าว ๆ


การตั้งสาย

ก่อนอื่น เราต้องทราบก่อนว่า สายกีต้าร์ตั้งแต่สายที่ 1 ถึง 6 นั้น เป็นเสียงเสียงโน๊ตตัวใดบ้าง กล่าวคือ
สายที่ 1 = โน๊ตตัว E
สายที่ 2 = โน๊ตตัว B
สายที่ 3 = โน๊ตตัว G
สายที่ 4 = โน๊ตตัว D
สายที่ 5 = โน๊ตตัว A
สายที่ 6 = โน๊ตตัว E
ฉะนั้น เราจะต้องตั้งทีละสาย เริ่มจากสายที่ 1 (เสียง E) ให้กดคีย์บอร์ด ที่เสียง E (มี) สลับกับดีดสายกีต้าร์สายที่ 1
ให้ฟังเสียงดูว่าเสียงของสายกีต้าร์สายที่ 1 นั้น ต่ำหรือสูงกว่าเสียง E (มี) ในคีย์บอร์ด
ถ้าต่ำกว่า ก็ให้หมุนลูกบิดในลักษณะ "ตามเข็มนาฬิกา"
ถ้าสูงกว่า ก็ให้หมุนลูกบิดในลักษณะ "ทวนเข็มนาฬิกา"
*** ในการหมุนลูกบิด ถ้าเสียงที่เทียบกันแตกต่างกันไม่มากให้หมุนลูกบิดทีละน้อยนะครับ แล้วฟังเสียงเทียบ
กันอีกซ้ำๆ และค่อยๆปรับจนกว่าเสียงจะเท่ากัน
     ในการตั้งสายครั้งแรกๆ อาจจะมีปัญหาในการฟังว่า เสียงที่เทียบกันนั้น มันเท่ารึยัง ใช้ได้รึยัง ผมก็เป็นคนนึง ครับ ที่มีปัญหาในการตั้งสายในช่วงแรก เพราะฟังไม่ค่อยออกว่ามันเท่ากันรึยัง ทำให้กว่าจะตั้งสายเสร็จก็ใช้เวลา
นานพอสมควร จนบางครั้งหงุดหงิดมาก กว่าจะได้เล่นตั้งสายนานเป็นชั่วโมงๆ แทบจะหมดอารมณ์เล่นไปเลย แต่พอฝึกบ่อยๆเข้าก็เริ่มฟังออกมากขึ้น เริ่มใช้เวลาในการตั้งสายน้อยลง จนในที่สุดสามารถตั้งสายได้ในเวลา อันสั้น ฉะนั้น ขอให้เพื่อนๆทุกคนที่เพิ่งเริ่มหัดตั้งสาย ก็อย่าละความพยายามนะครับ เพราะมันเป็นการฝึกหูที่ดี เยี่ยมอย่างนึงเลย เอาใจช่วยครับ
2) การตั้งสายจากหลอดเทียบเสียง
โดยทั่วไปหลอดเทียบเสียงจะเป็นท่อพลาสติกหรือท่อโลหะเล็ก ๆ เรียงต่อกัน 6 ท่อ ซึ่งแต่ละท่อจะมีระดับเสียงตาม
สายกีตาร์ทั้ง 6 สาย เวลาจะตั้งสายคุณก็ดูช่องให้ตรงกับสายที่ต้องการตั้งเช่นสาย 5 โน๊ต A คุณก็ดูที่ท่อที่มีเขียนว่า A หรือสาย 5 แล้วก็เป่าหลอดเทียบเสียงพร้อมทั้งดีดสาย 5 สลับกันไปแล้วพยายามสังเกตเสียงของหลอดกับกีตาร์ ว่าระดับเดียวกั นหรือยัง สำหรับสายอื่นก็เช่นเดียวกัน
3) การตั้งสายกีตาร์ด้วยเครื่องตั้งสายกีตาร์  
เครื่องตั้งสายกีตาร์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการฟังระดับเสียงของกีตาร์เทียบกับหลอด
เทียบเสียงหรือ เทียบกับเครื่องดนตรีอื่น หลักการก็คือการใช้ความถี่ของโน๊ตแต่ละตัวของสายกีตาร์ซึ่งคงที ่ให้เครื่องเป็นตัวตรวจสอบความถี่ดังกล่าวบางรุ่นก็จะเป็นเข็มซ ึ่งจะกระดิกไปบนหน้าปัตท์ที่มีสเกลของโน๊ต
สายเปล่าสายต่าง ๆและรุ่นที่ใหม่ขึ้นมาจะเป็นระบบดิจิตอลที่แสดงค่าเป็นตัวโน๊ตห รือความถ ี่ซึ่งทำให้ง่าย ต่อการตั้งสายสำหรับมือใหม่อย่างมากแต่ ราคาค่อนข้างจะสูง การทำงานคร่าว ๆ คือ คุณต้องเลือกว่าจะตั้งสายใด
โดย ปรับค่าที่ตัวเครื่อง จากนั้นวางเครื่องใกล้ ๆ ตัวกีตาร์แล้วดีดสายดังกล่าว ปรับจนเข็มบนหน้าปัทย์อยู่ตรงกลาง
จึงถือว่าสมบูรณ์ สำหรับวิธีนี้ เป็นวิธีการตั้งสายที่ง่ายและรวดเร็ว แต่สิ่งที่เพื่อนๆจะไม่ได้ก็คือ การฝึกหู ซึ่งสำคัญ
อย่างยิ่งสำหรับนักดนตรี ฉะนั้น ถ้าเป็นไปได้พยายามพึ่งพาเครื่องอำนวยความสะดวกเหล่านี้ให้น้อยที่สุดนะครับ
4) การตั้งสายกีต้าร์จากเพลง
การตั้งสายด้วยวิธีนี้จะต้องอาศัยความรู้ทางด้านทฤษฎีดนตรีและทักษะในการฟังพอสมควร โดยจะต้องจับเสียง ดนตรี (หรือเสียงร้องก็ได้) ว่าเป็นเสียงของโน๊ตตัวใด จากนั้นก็ตั้งสายกีต้าร์ให้ตรงตามเสียงนั้น เอาเป็นว่าถ้ามี เวลาจะอธิบายเพิ่มเติมละกันนะครับ

บทที่ 3 องค์ประกอบของคอร์ด (1)

บทที่ 3 องค์ประกอบของคอร์ด (1)
บทนี้มาพูดกันถึงเรื่องคอร์ดดีกว่าครับ เพื่อนๆคงจะเคยจับคอร์ด ตีคอร์ดกันมาบ้างแล้ว อยากทราบมั้ยครับว่า "คอร์ด" มีที่มาที่ไปอย่างไร ผมจะอธิบายให้ฟังดังนี้ครับ
คอร์ดคือการรวมกลุ่มของตัวโน๊ตตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป โดยหลักๆแล้วจะแบ่งออกเป็น คอร์ดเมเจอร์(major)และคอร์ดไมเนอร์(minor)
เพื่อนๆลองหยิบหนังสือเพลงขึ้นมาดูประกอบสิครับ
ตัวอย่างเช่น คอร์ด C (เรียกเต็มว่า C เมเจอร์, เขียนเต็มๆว่า Cmaj (โดยปกติจะละ maj เอาไว้)
คอร์ด Am (อ่านว่า A ไมเนอร์ โดย m ย่อมาจาก minor)
คอร์ดเมเจอร์ ประกอบด้วย โน๊ตตัวที่ 1,3,5
1,3,5 มาจากไหน?
ให้เอาโน๊ตตัว C ตั้งต้น แล้วไล่เสียงไปจนครบ 7 ตัวโน๊ต ดังนี้
C(1)---- D(2)---- E(3)--F(4)---- G(5)---- A(6)---- B(7)--C(8)
ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึงตำแหน่ง จะสังเกตุเห็นว่าโน๊ตตำแหน่งที่ 3 กับ 4 และ 7 กับ 8 ห่างกันอยู่ครึ่งเสียง ที่เหลือห่างกัน 1 เสียงเต็ม
(อ้อ...จริงๆแล้ว โน๊ตตำแหน่งที่ 8 ก็คือตัวเดียวกับตัวที่ 1 นั่นแหล่ะครับ แต่เขียนไว้เพื่อให้เห็นชัดว่า 7 กับ 8 มันห่างกันครึ่งเสียงน่ะครับ)
ย้อนกลับไปที่ คอร์ดเมเจอร์ ประกอบด้วยโน๊ตตัวที่ 1,3,5 การที่จะทราบว่าตัวโน๊ต ตำแหน่งที่ 1,3,5 นั้นคือโน๊ตอะไร ก็ให้เอาตัว Root ตั้งต้น (ตัว Root หมายถึง ตัวโน๊ตที่เป็นชื่อคอร์ด เช่น Root ของคอร์ด C ก็คือ C , Root ของคอร์ด Am ก็คือ A)
Root ของคอร์ด Dm7 ก็คือ D โดยเราไม่ต้องไปสนใจว่ามันจะติด m,7 หรือติดอะไรก็ตาม ให้ดูแค่ว่าชื่อคอร์ดเป็นตัวอักษรอะไรก็พอ
เอาล่ะครับ....ยกตัวอย่างเลยดีกว่า เดี๋ยวจะงงกันไปซะก่อน

Ex.1 คอร์ด C
หาคอร์ด C ให้เอา C ตั้งต้นก็จะได้
C(1)---- D(2)---- E(3)--F(4)---- G(5)---- A(6)---- B(7)--C(8)
1 = C
3 = E
5 = G
เพราะฉะนั้น คอร์ด C จึงประกอบด้วยโน๊ต 3 ตัว คือ C,E,G
Ex.2 คอร์ด G
หาคอร์ด G ก็ให้เอา G   ตั้งต้นจะได้ว่า
G(1)---- A(2)----B(3)--C(4)---- D(5)---- E(6)----F#(7)--G(8)
อย่าลืมนะครับ ว่าตำแหน่งที่ 3 กับ 4 ติดกัน (ส่วนตำแหน่งที่ 7 กับ 8 มันจะติดกันโดยอัตโนมัติอยู่แล้วครับถ้าเรียงมาถูกนะครับ)
1 = G
3 = B
5 = D
เพราะฉะนั้น คอร์ด G จึงประกอบด้วย G,B,D
ลองอีกสักตัวอย่างนะครับ
Ex.3 คอร์ด E
คอร์ด E ก้เอา E ตั้งต้นเช่นกัน
E(1)---- F#(2)----G#(3)--A(4)---- B(5)---- C#(6)----D#(7)--E(8)
1 = E
3 = G#
5 = B
เพราะฉะนั้น คอร์ด E จึงประกอบด้วย E,G#,B
*สรุปครับสรุป...หากเพื่อนๆอยากทราบองค์ประกอบของคอร์ดๆใดก็ตามให้เอา Root ของคอร์ดนั้นมาตั้งต้น แล้วเรียงลำดับตัวโน๊ตไปจนครบ 7 ตัว (...ถัดจากตัว G ก็คือ A นะครับ อย่าไปใส่ตัว H ล่ะ) โดยให้ยึดกฎที่ว่า 3 กับ 4 ติดกันก็เป็นอันใช้ได้ครับ ........ เฮ้อ จบลงซะทีบทนี้ บายครับ

มารู้จักโน้ตบนคอกีต้าร์กันเถอะ

Note On Fingerboard

By Music Theory
เรามารู้จักกันดีกว่าว่าบนคอกีต้าร์(Fingerboard)นั้น ในแต่ละเฟร็ต(Fret)มีโน้ตอะไรกันบ้าง
บนคอกีตาร์นั้น โน้ต 2 ตัว จะห่างกัน 1 เฟร็ต หรือ 1 ช่อง ซึ่งก็จะเท่ากับว่าห่างกัน ครึ่งเสียง (Half Tone) แต่ ถ้าห่างกัน 2 เฟร็ต หรือ 2 ช่อง ก็จะเท่ากับว่าห่างกัน หนึ่งเสียงเต็ม (Whole Tone) โดย เครื่องหมาย ชาร์ป (#) เป็นสัญลักษณ์ การเพิ่มเสียงตัวโน้ตขึ้นไปอีก ครึ่งเสียง

และ เครื่องหมาย แฟลท (b) เป็น สัญลักษณ์ การลดเสียงตัวโน้ตลงไป ครึ่งเสียง
โดย โน้ตสากลนั้นมีทั้งหมด 7 เสียง คือ โด-C / เร-D / มี-E / ฟา-F / ซอล-G / ลา-A / ที-B / โด-C (สูงขึ้น 1 Octave) ถ้ารวมชาร์ปและแฟลท ก็จะได้ 12 เสียง ดังนี้ C / C#(Db) / D / D#(Eb) / E / F / F#(Gb) / G / G#(Ab) / A / A#(Bb) / B / C (สูงขึ้น 1 Octave) ซึ่งตำแหน่งต่างๆของโน้ตแต่ละตัว ดูได้จากภาพประกอบ


สเกลเพลงร็อค





เครติด http://www.youtube.com/watch?v=XUpL6SZkOo4

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

การอ่านแทป

  การอ่านแท็บ (Tablature)

  การอ่านแท็บ
      การอ่านแท็บสายกีต้าร์จะแทนด้วยเส้นทั้งหมด 6 เส้น เส้นบนสุดคือสาย 1 ของกีต้าร์ไล่ลงมาเป็นสาย 2 – 3 – 4 – 5 ถึงเส้นสุดท้ายคือสาย 6 โดยตัวเลขที่อยู่บนแท็บจะหมายถึงตำแหน่งที่ต้องกดว่าจะต้องกดที่ช่องใดบนฟิงเกอร์บอร์ด ของสายนั้นๆ( เลข “0” หมายถึง การดีดสายเปล่า ) และถ้าตัวเลขที่อยู่บนเส้นอยู่ในตำแหน่งเดียวกันในแนวตั้งดังรูปด้านบนก็ให้ดีดพร้อมกัน ยกตัวอย่างถ้าตรงกัน 2 สองสายก็ดีดพร้อมกันแค่สองสาย ถ้าตรงกันทั้งหมด 6 สายก็ให้ดีดพร้อมกันทั้ง 6 สาย เช่น ตัวอย่าง TAB ด้านบน ตัวเลขด้านขวามือสุด เป็นการจับคอร์ด G แล้วดีดพร้อมกันทั้ง 6 สาย (โดยมากแล้วถ้าตัวเลขอยู่ในแนวเดียวกันตั้งแต่ 3 ตำแหน่งขึ้นไปจะเป็นการจับคอร์ด ) เช่นรูปด้านบน เป็นการจับคอร์ด G จาก TAB ด้านบน การเล่นทั้งหมดคือ ( ดีดสายเปล่าสาย 6 --> ตามด้วยดีดสาย 6 ช่อง 2 --> ดีดสาย 6 ช่อง 3 --> และดีดคอร์ด G ) จะมีการดีดทั้งหมด 4 ครั้ง



       สัญลักษณ์เบื้องต้นที่ใช้ใน TAB


  • h   =    hammer on
  • p   =    pull off
  • b   =   bend string up  (ดันสายขึ้น)
  • r    =   release bend  (ดันสายค้างไว้ ดีดแล้วจึงผ่อนสายลง)
  • /   =   slide up  (สไลด์ขึ้น)
  • \    =    slide down  (สไลด์ลง)
  • s   =    legato slide  (การสไลด์ไปยังโน๊ตตัวอื่นโดยไม่ต้องดีดซ้ำ)
  • v, ~   =    vibrato  (ทำเสียงสั่น)
  • tr   =   trill  (การรัวนิ้ว)
  • T   =    tap  (การเล่น Tabping)
  • x   =   on rhythm muted slash  (การให้จังหวะโดยทำเสียงบอด)

เครดิด http://www.folkpeople.com/

การฝึกนิ้วแบบ Symmetrical



แบบ ฝึกง่ายๆคับ

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

บทที่ 1 พื้นฐานความรู้เรื่องโน๊ต

บทที่ 1 พื้นฐานความรู้เรื่องโน๊ต
เมื่อพูดถึงทฤษฎีดนตรี หรืออะไรก็ตามที่ขึ้นต้นว่า “ทฤษฎี” ผู้เรียนก็คงจะท้อกันตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว บางคนเล่นกีต้าร์ มาเป็นปีแต่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับทฤษฎี ถามว่าเล่นได้ไหม..... เล่นได้ครับ แต่แค่พอเล่นได้เท่านั้น เล่นไป ร้องไป
ตีคอร์ดได้ อาจจะเกาเป็นแพทเทิลได้บ้าง แต่จะให้เก่งอย่าง   คงเป็นไปไม่ได้แน่ ฉะนั้น ผมบอกได้เลยครับว่า หากเพื่อนๆสนใจอยากเล่นกีต้าร์อย่างจริงๆจังๆ  แล้ว ก็คงหนีไม่พ้นทฤษฎีดนตรีแน่นอน แต่สิ่งที่ผมอยากจะบอก
เพื่อนๆก็คือ ทฤษฎีดนตรี ไม่ใช่ของยากอะไรเลย หากเราค่อยๆทำความเข้าใจมันตั้งแต่ชั่วโมงแรก ศึกษาไปทีละนิด
ละหน่อย ความรู้จะถูกเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆแบบไม่รู้ตัว และความได้เปรียบของคนที่มีความรู้ด้านทฤษฎีดนตรี คือ ไม่ว่าจะอยากเล่นเครื่องดนตรีชิ้นไหน ก็เริ่มเล่นได้ไม่ยาก แค่เรียนรู้ธรรมชาติของเครื่องดนตรีชนิดนั้นๆในเบื้อง
ต้น ประกอบกับการฝึกฝนและนำเอาความรู้ทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ ก็ทำให้เราเพลิดเพลินกับเครื่องดนตรีแต่ละ
ชนิดได้ในเวลาอันสั้น ครับเกริ่นมาถึงตรงนี้แล้ว หวังว่าเพื่อนๆคงจะมีกำลังใจที่จะศึกษาทฤษฎีดนตรีกันบ้างแล้ว
นะครับ ไม่พูดพล่ามทำเพลง มาเริ่มกันเลยดีกว่า


ตัวโน๊ตทั้งหมด ตามที่เราคุ้นเคยคือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด ซึ่งโน้ตแต่ละตัวจะถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งโดยนำเอา
ตัวอักษรภาษาอังกฤษมาตั้ง ดังนี้
C = โด                 
D = เร
E = มี
F = ฟา
G = ซอล
A = ลา
B = ที
อันนี้เป็นความรู้พื้นฐานที่เพื่อนๆต้องจำนะครับ ซึ่งวิธีจำก็ไม่ยากอะไรเลย แค่เอาตัว C ขึ้นต้น และไล่เสียงไปเรื่อยๆ
ตามตัวอักษร C D E F G และวนกลับมาที่ A B ก็เป็นอันครบ
อันที่จริงแล้ว ยังมีเสียงที่นอกเหนือจากนี้อีก ซึ่งจะอธิบายได้ง่ายจากคีย์บอร์ด ดังนี้ครับ

เพื่อนๆจะสังเกตุเห็นว่ามีโน๊ตอยู่ 2 คู่ ที่ไม่มีตัวขั้นกลาง นั่นก็คือ E กับ F และ B กับ C  ทำไมถึงเป็นเช่นนี้นะเหรอ
ครับ กระผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน เพราะเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นมาจากผู้ที่คิดค้นทฤษฎีดนตรีในยุคแรกน่ะครับ คล้ายๆกับสูตรทางคณิตศาสตร์แหล่ะครับ เราเองเป็นผู้ศึกษาต่อจากสิ่งที่ผู้อื่นเค้าศึกษากันมาอย่างหนักหน่วง เรา แค่เอาสูตรที่เค้าคิดเอาไว้อย่างดีแล้วมาใช้แค่นั้นเอง
                มาถึงตรงนี้สิ่งที่เพื่อนๆต้องจำเพิ่มขึ้นมานั่นก็คือ E กับ F ติดกัน และ B กับ C ติดกัน อ้อ ผมลืมบอกไป
ครับ จาก C ไป D นั้น ห่างกัน 1 เสียงเต็ม (ทำไมถึงห่าง 1 เสียงเต็ม ?............. ก็เพราะมันมีตัวคั่นคือ C# หรือ Db
นั่นแหล่ะครับ ส่วน E กับ F ห่างกัน ครึ่งเสียง เพราะไม่มีตัวคั่น            และ B กับ C ก็ห่างกันครึ่งเสียงทีนี้เพื่อนๆ
คงทราบแล้วนะครับว่า โน๊ตคู่ไหนห่างกัน 1 เสียงเต็มบ้าง โน๊ตคู่ไหนห่างกันครึ่งเสียงบ้าง
               

C สูงขึ้นไปครึ่งเสียง = C#                                     C ลดลงครึ่งเสียง = B
D สูงขึ้นไปครึ่งเสียง = D#                                    D ลดลงครึ่งเสียง = Db
E สูงขึ้นไปครึ่งเสียง = F                                       E ลดลงครึ่งเสียง = Eb
F สูงขึ้นไปครึ่งเสียง = F#                                     F ลดลงครึ่งเสียง = E
G สูงขึ้นไปครึ่งเสียง = G#                                   G ลดลงครึ่งเสียง = Gb
A สูงขึ้นไปครึ่งเสียง = A#                                    A ลดลงครึ่งเสียง = Ab
B สูงขึ้นไปครึ่งเสียง = C                                      B ลดลงครึ่งเสียง = Bb
จะสังเกตได้ว่า มีเสียงที่เท่ากันอยู่ดังนี้
C# = Db
D# = Eb
F# = Gb
G# = Ab
A# = Bb
เอ....... ในเมื่อมันเป็นเสียงเดียวกัน ทำไมไม่เรียกอันใดอันนึงไปเลย ทำให้สับสนทำไมก็ไม่รู้........นั่นนะสิครับ
แต่จริงๆแล้ว มันขึ้นอยู่กับแต่ละบทเพลงมากกว่า คือถ้าเพลงนั้นๆมีโน้ตที่ติดชาร์ฟ (#) ก็จะติดชาร์ฟทั้งเพลง หรือ
เพลงไหน ทีมีโน้ตติดแฟลต (b) ก็จะแฟลตมันทั้งเพลง คงไม่มีใส่โน้ตที่ติดชาร์ฟ และแฟลต ไว้ในเพลงเดียวกัน
หรอกครับ
เป็นไงครับ พอเข้าใจกันบ้างรึเปล่า เอาเป็นว่าขอจบบทแรกไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ถ้ามีเวลาว่างจะเข้ามาเพิ่มบท
เรียนให้เรื่อยๆนะครับ ขอให้สนุกกับการเรียนทฤษฎีนะครับ

ทฤษฎีดนตรี

ทฤษฎีดนตรี
ผมแบ่งความรู้ทางทฤษฎีออกเป็นบทๆไปนะครับ สำหรับเพื่อนๆที่ยังไม่มีความรู้เรื่องทฤษฎีมาก่อน แนะนำว่าให้
เริ่มศึกษาตั้งแต่บทแรกนะครับ แล้วค่อยๆก้าวไปทีละบท ถ้าลัดไปบทอื่นเลยจะไม่เข้าใจนะครับ ผมพยายามอธิบาย
ทฤษฎีดนตรีแบบให้เข้าใจได้ง่ายๆ ละเอียดทุกเม็ด เพื่อให้ผู้ที่สนใจศึกษาไม่งง สนุกที่จะเรียน ซึ่งมันจะทำให้เกิด
ความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนดนตรีโดยเฉพาะในเรื่องทฤษฎี ที่แค่ได้ยินชื่อก็แทบจะไม่อยากเรียนแล้ว ซึ่งผมจะเข้า
มา Update บทเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนะครับ หวังว่าผมจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คุณเข้าใจทฤษฎีดนตรีมากขึ้นนะครับ
พร้อมแล้วก็.......ลุยกันเลย  http://m-mahatang.blogspot.com/2012/01/1.html

ประวัติความเป็นมาของกีตาร์

ก่อนขอแนะนำก่อน  กีตาร์ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของมนุษย์เพียงแต่ชื่อเรียกและรูปร่างย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเปอร์เซียและตะวันออกกลางหลายประเทศต่อมาได้เผยแพร่ไปยังกรุงโรมโดยชาวโรมันหรือชาวมัวร์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมในสเปน ในยุโรปกีตาร์มักเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง และมีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ที่ให้ความสนใจและศึกษาอย่างเช่น Queen Elizabeth I ซึ่งโปรดกับ Lute lซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ก็ว่าได้ แต่การพัฒนาที่แท้จริงนั้นได้เกิดจากการที่นักดนตรีได้นำมันไปแสดงหรือเล่นร่วมกับวงดนตรีของประชาชนทั่ว ๆ ไปทำให้มีการเผยแพร่ไปยังระดับประชาชนจนได้มีการนำไปผสมผสานเข้ากับเพลงพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปและเกิดแนวดนตรีในแบบต่าง ๆ มากขึ้น
     ผู้หนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงเมื่อพูดถึงประวัติของกีตาร์ก็คือ Fernando Sor ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อวงการกีตาร์เป็นอันมากเนื่องจาการอุทิศตนให้กับการพัฒนารูปแบบการเล่นกีตาร์เทคนิคต่าง ๆ และได้แต่งตำราไว้มากมาย ในปี 1813 เขาเดินทางไปยังปารีตซึ่งเขาได้รับความสำเร็จและความนิยมอย่างมาก จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังลอนดอนโดยพระราชูปถัมป์ของ Duke of Sussex และที่นั่นการแสดงของเขาทำให้กีตาร์เริ่มได้รับความนิยม จากอังกฤษเขาได้เดินทางไปยังปรัสเซีย รัสเซียและได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวเมืองเซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก ซึ่งที่นั่นเขาได้แต่งเพลงที่มีความสำคัญอย่างมากเพลงหนึ่งถวายแก่พระเจ้า Nicolus I จากนั้นเขาก็ได้กลับมายังปารีตจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี 1839 หลังจากนั้นได้มีการเรียนีการสอนทฤษฎีกีตาร์ที่เด่นชัดและสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้กีตาร์ได้รับการพัฒนาอย่างมาก     หลังจากนั้นมีอีกผู้หนึ่งที่มีความสำคัญต่อกีตาร์เช่นกันคือ Francisco Tarrega (1854-1909) ซึ่งเกิดมาในครอบครัวที่ยากจนแต่ด้วยความสามารถด้านดนตรีของเขาก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จจนได้จากการแสดง ณ Alhambra Theater จากนั้นเขาได้เดินทางไปยัง Valencia, Lyons และ Paris เขาได้รับการยกย่องว่าได้รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องดนตรี 3 ชนิดมารวมกันคือ ไวโอลิน, เปียโน และ รวมเข้ากับเสียงของกีตาร์ได้อย่างไพเราะกลมกลืน ทุกคนที่ได้ฟังเขาเล่นต่างบอกว่าเขาเล่นได้อย่างมีเอกลักษณ์และสำเนียงที่มีความไพเราะน่าทึ่ง หลังจากเขาประสบความสำเร็จใน London, Brussels, Berne และ Rome เขาก็ได้เดินทางกลับบ้านและได้เริ่มอุทิศตนให้กับการแต่งเพลงและสอนกีตาร์อย่างจริงจัง ซึ่งนักกีตาร์ในรุ่นหลัง ๆ ได้ยกย่องว่าเขาเป็นผู้ริเริ่มการสอนกีตาร์ยุคใหม่
     อีกคนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือ Andres Sergovia ผู้ซึ่งเดินทางแสดงและเผยแพร่กีตาร์มาแล้วเกือบทั่วโลกเพื่อให้คนได้รู้จักกีตาร์มากขึ้น (แต่คงไม่ได้มาเมืองไทยน่ะครับ) ทั้งการแสดงเดี่ยวหรือเล่นกับวงออเคสตร้า จนเป็นแรงบันดาลใจให้มีการแต่งตำราและบทเพลงของกีตาร์ขึ้นมาอีกมากมาย อันเนื่องมาจากการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องกีตาร์อย่างเปิดเผยและจริงจังของเขาผู้นี้ นอกจากนี้ผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ทำให้ประวัติศาสตร์กีตาร์เปลี่ยนหน้าใหม่เพราะทำให้นักีตาร์ได้มีโอกาสแสดงใน concert hall มากขึ้น และทำให้เกิดครูและหลักสูตรกีตาร์ขึ้นในโรงเรียนดนตรีอีกด้วย



คนที่เล่นเป็นแล้วอยากได้แทปเชิญทางนี้คับ http://kon-ruk-tab.blogspot.com/