ผู้สนับสนุนเนื้อหาเพิ่มเติม

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

องค์ประกอบของคอร์ด

บทที่ 3 องค์ประกอบของคอร์ด (1)
บทนี้มาพูดกันถึงเรื่องคอร์ดดีกว่าครับ เพื่อนๆคงจะเคยจับคอร์ด ตีคอร์ดกันมาบ้างแล้ว อยากทราบมั้ยครับว่า "คอร์ด" มีที่มาที่ไปอย่างไร ผมจะอธิบายให้ฟังดังนี้ครับ
คอร์ดคือการรวมกลุ่มของตัวโน๊ตตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป โดยหลักๆแล้วจะแบ่งออกเป็น คอร์ดเมเจอร์(major)และคอร์ดไมเนอร์(minor)
เพื่อนๆลองหยิบหนังสือเพลงขึ้นมาดูประกอบสิครับ
ตัวอย่างเช่น คอร์ด C (เรียกเต็มว่า C เมเจอร์, เขียนเต็มๆว่า Cmaj (โดยปกติจะละ maj เอาไว้)
คอร์ด Am (อ่านว่า A ไมเนอร์ โดย m ย่อมาจาก minor)
คอร์ดเมเจอร์ ประกอบด้วย โน๊ตตัวที่ 1,3,5
1,3,5 มาจากไหน?
ให้เอาโน๊ตตัว C ตั้งต้น แล้วไล่เสียงไปจนครบ 7 ตัวโน๊ต ดังนี้
C(1)---- D(2)---- E(3)--F(4)---- G(5)---- A(6)---- B(7)--C(8)
ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึงตำแหน่ง จะสังเกตุเห็นว่าโน๊ตตำแหน่งที่ 3 กับ 4 และ 7 กับ 8 ห่างกันอยู่ครึ่งเสียง ที่เหลือห่างกัน 1 เสียงเต็ม
(อ้อ...จริงๆแล้ว โน๊ตตำแหน่งที่ 8 ก็คือตัวเดียวกับตัวที่ 1 นั่นแหล่ะครับ แต่เขียนไว้เพื่อให้เห็นชัดว่า 7 กับ 8 มันห่างกันครึ่งเสียงน่ะครับ)
ย้อนกลับไปที่ คอร์ดเมเจอร์ ประกอบด้วยโน๊ตตัวที่ 1,3,5 การที่จะทราบว่าตัวโน๊ต ตำแหน่งที่ 1,3,5 นั้นคือโน๊ตอะไร ก็ให้เอาตัว Root ตั้งต้น (ตัว Root หมายถึง ตัวโน๊ตที่เป็นชื่อคอร์ด เช่น Root ของคอร์ด C ก็คือ C , Root ของคอร์ด Am ก็คือ A)
Root ของคอร์ด Dm7 ก็คือ D โดยเราไม่ต้องไปสนใจว่ามันจะติด m,7 หรือติดอะไรก็ตาม ให้ดูแค่ว่าชื่อคอร์ดเป็นตัวอักษรอะไรก็พอ
เอาล่ะครับ....ยกตัวอย่างเลยดีกว่า เดี๋ยวจะงงกันไปซะก่อน

Ex.1 คอร์ด C
หาคอร์ด C ให้เอา C ตั้งต้นก็จะได้
C(1)---- D(2)---- E(3)--F(4)---- G(5)---- A(6)---- B(7)--C(8)
1 = C
3 = E
5 = G
เพราะฉะนั้น คอร์ด C จึงประกอบด้วยโน๊ต 3 ตัว คือ C,E,G
Ex.2 คอร์ด G
หาคอร์ด G ก็ให้เอา G   ตั้งต้นจะได้ว่า
G(1)---- A(2)----B(3)--C(4)---- D(5)---- E(6)----F#(7)--G(8)
อย่าลืมนะครับ ว่าตำแหน่งที่ 3 กับ 4 ติดกัน (ส่วนตำแหน่งที่ 7 กับ 8 มันจะติดกันโดยอัตโนมัติอยู่แล้วครับถ้าเรียงมาถูกนะครับ)
1 = G
3 = B
5 = D
เพราะฉะนั้น คอร์ด G จึงประกอบด้วย G,B,D
ลองอีกสักตัวอย่างนะครับ
Ex.3 คอร์ด E
คอร์ด E ก้เอา E ตั้งต้นเช่นกัน
E(1)---- F#(2)----G#(3)--A(4)---- B(5)---- C#(6)----D#(7)--E(8)
1 = E
3 = G#
5 = B
เพราะฉะนั้น คอร์ด E จึงประกอบด้วย E,G#,B
*สรุปครับสรุป...หากเพื่อนๆอยากทราบองค์ประกอบของคอร์ดๆใดก็ตามให้เอา Root ของคอร์ดนั้นมาตั้งต้น แล้วเรียงลำดับตัวโน๊ตไปจนครบ 7 ตัว (...ถัดจากตัว G ก็คือ A นะครับ อย่าไปใส่ตัว H ล่ะ) โดยให้ยึดกฎที่ว่า 3 กับ 4 ติดกันก็เป็นอันใช้ได้ครับ ........ เฮ้อ จบลงซะทีบทนี้ บายครับ

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

เพลง it gonna be ok




ใครอยากให้ cover เพลงนี้บ้าง

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

สอนเล่นหน่วง




เครดิต http://www.youtube.com/watch?v=MeDE1Qm2gY0

การเล่นกีต้าร์

วิธีการหัดเล่นกีต้าร์
ในการหัดเล่นกีต้าร์นั้นเราจะต้องรู้พื้นฐานในการจับคอร์ดเสียก่อน

ซึ่งจะจับคอร์ดได้นั้นตัองดูตามตารางคอร์ดกีต้าร์ดังนี้


บางคนอาจจะยังดูไม่เป็นสำหรับคนที่หัดเล่นใหม่ๆ แต่มัน

ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่หยิบกีต้าร์ขึ้นมาแล้วใช้นิ้วกด

ไปตามจุดที่อยู่บนเส้นกีต้าร์ตามรูปภาพ พอกดได้แล้วก็หมั่น

ฝึกกดอยู่บ่อยๆเพื่อที่จะเกิดการเคยชินจนสาสารถเล่นได้ในที่สุด


การหัดไล่ scale กีต้าร์

ในการเล่นกีต้าร์นั้นนอกจากจะหัดจับคอร์ดแล้วนั้นที่สำคัญก็คือ

การหัดไล่สเกลล์ซึ่งการไล่สเกลล์นั้นเป็นพื้นฐานในการลีดกีต้าร์

ที่นักลีดกีต้าร์ทั้งหลายทำกันอยู่ก็มาจากการฝึกหัดไล่สเกลล์กัน

ทั้งนั้น การไล่สเกลล์นั้นเป็นการไล่นิ้วลงไปบนตัวโน๊ตของกีต้าร์

ซึ่งจะไล่แบบไหนนั้นก็แล้วแต่ผู้เล่นจะถนัดนั่นเองดังตัวอย่างตารางสเกลล์

คอร์ดกีต้าร์




มารู้จักกีต้าร์

1.1 กีตาร์คลาสสิก (Classic Guitar) ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ในยุคปัจจุบันนั่นเองซึ่งมีลักษณะเด่นก็คือมีลูกบิดและแกนพันสายเป็นพลาสติก มีคอหรือฟิงเกอร์บอร์ดที่ใหญ่คือประมาณ 2 นิ้วลักษณะแบนราบ และใช้สายเอ็นหรือไนล่อน ส่วน 3 สายบน(สายเบส) จะทำด้วยไนล่อนหรือใยไหมแล้วพันด้วยเส้นโลหะเช่นเส้นทองแดงหรือบรอนซ์ ซึ่งทำให้มีความนุ่มมือเวลาเล่นไม่เจ็บเหมือน สายโลหะ จึงเหมาะกับคนที่อยากหัดกีตาร์แต่กลัวเจ็บนิ้ว
          กีตาร์อีกอย่างที่อยากกล่าวถึงในหัวข้อกีตาร์คลาสสิกคือ กีตาร์ ฟลาเมนโก (flamenco) ซึ่งมีโครงสร้างแทบจะเหมือนกับกีตาร์คลาสสิกทุกประการเนื่องจากได้มีการพัฒนามาจากกีตาร์คลาสสิกนั่นเอง จะต่างกันก็ที่ลำตัวจะบางกว่า และมีปิคการ์ดทั้งด้านบนล่างของโพรงเสียง และสไตล์การเล่นนั่นเองที่จะเป็นแบบสแปนนิสหรือแบบลาตินซึ่งจะมีจังหวะที่ค่อนข้างกระชับและสนุกสนาน
bigpic.jpg (8313 bytes)ด้วยเหตุที่ใช้สายไนล่อนนั่นเองทำให้กีตาร์คลาสิกมีเสียงที่ไพเราะนุ่มนวลและคอที่กว้างทำให้ระยะระหว่างสายก็มากขึ้นไปด้วย ซึ่งทำให้การเล่นกีตาร์คลาสสิคนั้นจะสามารถเล่นได้ทั้งการ solo เล่น chord แล่ bass ได้นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิคลูกเล่นต่าง ๆ อีกมากมาย ทำให้การเล่นกีตาร์คลาสสิกนั้นมีความไพเราะมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ง่ายนักนะครับกว่าจะเล่นได้อย่างที่ว่า นอกจากจะได้ไปเรียนอย่างเป็นจริงเป็นจังกับโรงเรียนดนตรีflamencoBfront.jpg (47292 bytes)flamencoBback.jpg (43036 bytes)flamencoBside.jpg (38276 bytes)












ส่วนต่าง ๆ ของกีตาร์คลาสสิก

          1.2 กีตาร์โฟล์ค ถือว่าเป็นที่นิยมและรู้จักกันมากที่สุดเนื่องจากหาซื้อง่ายราคาไม่แพงจนเกินไป(ที่แพง ๆ ก็มีนะครับ) สามารถฝึกหัดได้ง่ายไม่ต้องรู้ถึงทฤษฎีดนตรีมากนัก ใช้เวลาไม่นานก็จะสามารถเล่นเพลงง่าย ๆ ฟังกันในหมู่เพื่อนฝูงได้แล้วแต่จริง ๆ กีตาร์โฟล์คมันมีอะไรมากกว่านั้น ลักษณะทั่ว ๆ ไปคือแกนหมุนและลูกบิดมักเป็นโลหะ คอหรือฟิงเกอร์บอร์ดเล็กกว่ากีตาร์คลาสสิกมีลักษณะโค้งเล็กน้อยรับกับนิ้วมือ แต่มีลำตัว (body) ที่ใหญ่และแข็งแรงกว่ากว่ากีตาร์คลาสสิก ใช้สายที่ทำจากโลหะ เนื่องจากคอกีตาร์ที่เล็กและสายที่เป็นโลหะกีตาร์ประเภทนี้จึงเหมาะกับการเล่นด้วยปิค (flat pick) หรือการเกา (finger picking) ซึ่งเสียงที่ได้จะดังชัดเจน สดใสกว่ากีตาร์คลาสสิก จึงเหมาะกับการเล่นกับดนตรีทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจเล่นเดี่ยวหรือเล่นเป็นวงก็ได้
          กีตาร์โฟล์คนั้นมีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กันไปบ้างตามแต่ละความต้องการใช้ประโยชน์ หรือตามแต่ละผู้ผลิตส่วนมากก็จะแบ่งได้เป็น standard folk กีตาร์, jumbo folk กีตาร์ flat top folk กีตาร์ นอกจากนี้ยังมีแบบพิเศษอีกประเภทคือ กีตาร์ 12 สาย(แถวบนขวาสุด) ซึ่งจะมีสายแบ่งเป็น 6 คู่ซึ่งเวลาเล่นก็เล่นเหมือนกีตาร์ทั่ว ๆ ไป เพียงแต่จะได้เสียงที่กังวานและแน่นขึ้น (และยังมีกีตาร์เบสโปร่งซึ่งมี 4 สายที่อยู่รูปล่างซ้ายสุด 2 ตัว ใช้เล่นเบสแต่ผมไม่ค่อยเห็นคนเล่นเท่าไรครับสำหรับเบสโปร่งประเภทนี้) อ้อมีอีกแบบหนึ่งมีรูปร่างคล้ายกีตาร์คลาสสิก แต่ใช้สายโลหะซึ่งเป็นกีตาร์ฝึกราคาค่อนข้างถูกเหมาะสำหรับผู้ที่อยากเล่นกีตาร์แต่ไม่แน่ใจว่าจะเอาจริงหรือเปล่าก็ลองซื้อมาหัดเล่นดูว่าไหวมั้ย
 folk.jpg (208664 bytes)



แสดงกีตาร์โฟล์คแบบต่าง ๆ และส่วนต่าง ๆ โดยคร่าว ๆ


การตั้งสาย

ก่อนอื่น เราต้องทราบก่อนว่า สายกีต้าร์ตั้งแต่สายที่ 1 ถึง 6 นั้น เป็นเสียงเสียงโน๊ตตัวใดบ้าง กล่าวคือ
สายที่ 1 = โน๊ตตัว E
สายที่ 2 = โน๊ตตัว B
สายที่ 3 = โน๊ตตัว G
สายที่ 4 = โน๊ตตัว D
สายที่ 5 = โน๊ตตัว A
สายที่ 6 = โน๊ตตัว E
ฉะนั้น เราจะต้องตั้งทีละสาย เริ่มจากสายที่ 1 (เสียง E) ให้กดคีย์บอร์ด ที่เสียง E (มี) สลับกับดีดสายกีต้าร์สายที่ 1
ให้ฟังเสียงดูว่าเสียงของสายกีต้าร์สายที่ 1 นั้น ต่ำหรือสูงกว่าเสียง E (มี) ในคีย์บอร์ด
ถ้าต่ำกว่า ก็ให้หมุนลูกบิดในลักษณะ "ตามเข็มนาฬิกา"
ถ้าสูงกว่า ก็ให้หมุนลูกบิดในลักษณะ "ทวนเข็มนาฬิกา"
*** ในการหมุนลูกบิด ถ้าเสียงที่เทียบกันแตกต่างกันไม่มากให้หมุนลูกบิดทีละน้อยนะครับ แล้วฟังเสียงเทียบ
กันอีกซ้ำๆ และค่อยๆปรับจนกว่าเสียงจะเท่ากัน
     ในการตั้งสายครั้งแรกๆ อาจจะมีปัญหาในการฟังว่า เสียงที่เทียบกันนั้น มันเท่ารึยัง ใช้ได้รึยัง ผมก็เป็นคนนึง ครับ ที่มีปัญหาในการตั้งสายในช่วงแรก เพราะฟังไม่ค่อยออกว่ามันเท่ากันรึยัง ทำให้กว่าจะตั้งสายเสร็จก็ใช้เวลา
นานพอสมควร จนบางครั้งหงุดหงิดมาก กว่าจะได้เล่นตั้งสายนานเป็นชั่วโมงๆ แทบจะหมดอารมณ์เล่นไปเลย แต่พอฝึกบ่อยๆเข้าก็เริ่มฟังออกมากขึ้น เริ่มใช้เวลาในการตั้งสายน้อยลง จนในที่สุดสามารถตั้งสายได้ในเวลา อันสั้น ฉะนั้น ขอให้เพื่อนๆทุกคนที่เพิ่งเริ่มหัดตั้งสาย ก็อย่าละความพยายามนะครับ เพราะมันเป็นการฝึกหูที่ดี เยี่ยมอย่างนึงเลย เอาใจช่วยครับ
2) การตั้งสายจากหลอดเทียบเสียง
โดยทั่วไปหลอดเทียบเสียงจะเป็นท่อพลาสติกหรือท่อโลหะเล็ก ๆ เรียงต่อกัน 6 ท่อ ซึ่งแต่ละท่อจะมีระดับเสียงตาม
สายกีตาร์ทั้ง 6 สาย เวลาจะตั้งสายคุณก็ดูช่องให้ตรงกับสายที่ต้องการตั้งเช่นสาย 5 โน๊ต A คุณก็ดูที่ท่อที่มีเขียนว่า A หรือสาย 5 แล้วก็เป่าหลอดเทียบเสียงพร้อมทั้งดีดสาย 5 สลับกันไปแล้วพยายามสังเกตเสียงของหลอดกับกีตาร์ ว่าระดับเดียวกั นหรือยัง สำหรับสายอื่นก็เช่นเดียวกัน
3) การตั้งสายกีตาร์ด้วยเครื่องตั้งสายกีตาร์  
เครื่องตั้งสายกีตาร์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการฟังระดับเสียงของกีตาร์เทียบกับหลอด
เทียบเสียงหรือ เทียบกับเครื่องดนตรีอื่น หลักการก็คือการใช้ความถี่ของโน๊ตแต่ละตัวของสายกีตาร์ซึ่งคงที ่ให้เครื่องเป็นตัวตรวจสอบความถี่ดังกล่าวบางรุ่นก็จะเป็นเข็มซ ึ่งจะกระดิกไปบนหน้าปัตท์ที่มีสเกลของโน๊ต
สายเปล่าสายต่าง ๆและรุ่นที่ใหม่ขึ้นมาจะเป็นระบบดิจิตอลที่แสดงค่าเป็นตัวโน๊ตห รือความถ ี่ซึ่งทำให้ง่าย ต่อการตั้งสายสำหรับมือใหม่อย่างมากแต่ ราคาค่อนข้างจะสูง การทำงานคร่าว ๆ คือ คุณต้องเลือกว่าจะตั้งสายใด
โดย ปรับค่าที่ตัวเครื่อง จากนั้นวางเครื่องใกล้ ๆ ตัวกีตาร์แล้วดีดสายดังกล่าว ปรับจนเข็มบนหน้าปัทย์อยู่ตรงกลาง
จึงถือว่าสมบูรณ์ สำหรับวิธีนี้ เป็นวิธีการตั้งสายที่ง่ายและรวดเร็ว แต่สิ่งที่เพื่อนๆจะไม่ได้ก็คือ การฝึกหู ซึ่งสำคัญ
อย่างยิ่งสำหรับนักดนตรี ฉะนั้น ถ้าเป็นไปได้พยายามพึ่งพาเครื่องอำนวยความสะดวกเหล่านี้ให้น้อยที่สุดนะครับ
4) การตั้งสายกีต้าร์จากเพลง
การตั้งสายด้วยวิธีนี้จะต้องอาศัยความรู้ทางด้านทฤษฎีดนตรีและทักษะในการฟังพอสมควร โดยจะต้องจับเสียง ดนตรี (หรือเสียงร้องก็ได้) ว่าเป็นเสียงของโน๊ตตัวใด จากนั้นก็ตั้งสายกีต้าร์ให้ตรงตามเสียงนั้น เอาเป็นว่าถ้ามี เวลาจะอธิบายเพิ่มเติมละกันนะครับ